คุณสมบัติของสเต็มเซลล์

Stem cells หรือ เซลล์ต้นกำเนิด จัดเป็นหัวข้อที่กำลังอยู่ในความสนใจมากที่สุดเรื่องหนึ่งของชีววิทยาสมัยใหม่ โดย สเต็มเซลล์มีคุณสมบัติที่สำคัญและทำหน้าที่เสมือนเป็นอุปกรณ์ที่ซ่อมแซมร่างกายของเรา (body’s repair kits)

สเต็มเซลล์คืออะไร?

กระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ (renewal) และการซ่อมแซมเซลล์ (repair) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในร่างกายของมนุษย์ โดยการทำหน้าที่ของ adult stem cells (สเต็มเซลล์เต็มวัย) ที่คอยแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสภาพ โดยสามารถพบ adult stem cells ได้ในอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของร่างกายกว่า 20 ชนิด และมีลักษณะสำคัญอยู่สองประการที่ทำให้สเต็มเซลล์แตกต่างจากเซลล์ปกติในร่างกาย คือ สเต็มเซลล์เป็นเซลล์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่ออื่นๆที่มีความเฉพาะได้หลากหลายชนิดภายในเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน และมีความสามารถในการสร้างและซ่อมแซมตัวเองผ่านกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ (cell division) อยู่ตลอดชีวิตของมนุษย์ จึงทำให้สเต็มเซลล์มีความคุณค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

สเต็มเซลล์ผิวหนัง - Epidermal stem cells

Adult stem cell (สเต็มเซลล์เต็มวัย) ปรากฎอยู่ในผิวหนังชั้นนอกสุด นั่นก็คือ Epidermis โดยเรียกสเต็มเซลล์เหล่านี้ว่า epidermal stem cells โดยจะมีสเต็มเซลล์อยู่ประมาณ 2-7 % จากเซลล์ผิวทั้งหมดที่อยู่ในผิวบริเวณชั้น basal layer ซึ่งเป็นชั้นล่างสุดของผิวหนังชั้น epidermis ถึงแม้ลักษณะภายนอกของสเต็มเซลล์จะไม่แตกต่างจากเซลล์อื่นในผิวหนังชั้น basal layer แต่สเต็มเซลล์มีคุณสมบัติที่เฉพาะตัวซึ่งเซลล์อื่นไม่มี นั่นก็คือคุณสมบัติการสร้างใหม่ (renew) และการฟื้นฟู (rejuvenate) เซลล์ผิวชั้น epidermis อย่างสม่ำเสมอ โดยการแบ่งตัวสร้างเซลล์ผิวหนัง (keratinocytes) ใหม่เข้าไปฟื้นฟูบริเวณผิวหนังที่ถูกทำลาย ซึ่งมีเพียงแค่สเต็มเซลล์เท่านั้นที่จะมีความสามารถในการแบ่งตัวลักษณะนี้ได้ (ดังภาพ)

Stem cell properties Figure 1
ผิวหนังชั้น Epidermis กับ epidermal stem cells Epidermal stem cells อยู่บริเวณด้านล่างสุดของผิวหนังชั้น Basal layer ของ Epidermis โดยสเต็มเซลล์แบ่งตัวเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ซึ่งจะมีการแบ่งตัวและค่อยๆเลื่อนขึ้นไปผิวหนังด้านนอกสุด หลังจากนั้นก็จะถูกทำให้หลุดออกไปจากผิวหนังชั้นนอกสุดที่เรียกว่าหนังกำพร้า (Stratum corneum)

ในผิวอายุน้อย (young skin) พบว่าผิวหนังชั้น epidermis มีการซ่อมแซมตนเองอย่างสมบูรณ์ได้ภายในทุกๆ 4 สัปดาห์ (โดยประมาณ) แต่กระบวนการซ่อมแซมเซลล์ผิวนี้จะทำงานได้ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจากจำนวนและการทำหน้าที่ของสเต็มเซลล์ลดลงตามอายุที่มากขึ้น นอกจากนี้ แสงแดด การมีวิถีชีวิตแบบไม่ดูแลสุขภาพ ( เช่น การสูบบุหรี่หรือการดื่มแอลกอฮอล์) ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สเต็มเซลล์ทำงานได้ลดลง ส่งผลทำให้ชั้นผิวหนังบางลง เกิดริ้วรอยหรือร่องลึก (deep wrinkle) ได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้คุณสมบัติการเป็น hydrolipid film ของชั้นผิวลดลง ส่งผลทำให้ผิวแห้ง และง่ายต่อการระคายเคือง

เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างสเต็มเซลล์ขึ้นใหม่ได้ ดังนั้น สเต็มเซลล์ขึ้นจึงเป็นเซลล์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างและปกป้องชั้นผิวหนัง ซึ่งการดูแลให้สเต็มเซลล์เหล่านี้ให้มีพลังและมีความสามารถในการแบ่งตัวใหม่นานเท่าที่เป็นไปได้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ

Plant stem cells ช่วยปกป้องสเต็มเซลล์ของผิวได้อย่างไร?

สเต็มเซลล์ทุกเซลล์จะมีองค์ประกอบของ epigenetic factors (เอพิเจเนติกแฟคเตอร์) อย่างจำเพาะเจาะจงซึ่งหน้าที่ของมันก็คือช่วยรักษาความสามารถในการแบ่งตัวเป็นเซลล์ได้หลากหลายชนิด (multi-potency) และความสามารถในการแบ่งตัวสร้างเซลล์ใหม่ได้ (self-renew) ซึ่งทาง Mibelle Biochemistry ได้ค้นพบว่าสเต็มเซลล์จากพืชประกอบไปด้วย Epigenetic factors ที่คล้ายกับสเต็มเซลล์ของมนุษย์ การนำ Plant stem cells มาใช้อย่างถูกวิธี จะช่วยมอบคุณประโยชน์อย่างมหาศาลต่อเซลล์ผิว โดยช่วยฟื้นฟูสเต็มเซลล์ของผิวให้กลับมามีชีวิตชีวา และกลับมาทำงานได้ดีอีกครั้ง (Vitality & Proper functioning)

สามารถตรวจสอบการมีพลังชีวิตของสเต็มเซลล์ในผิว (Vitality of epidermal stem cells) ได้อย่างไร ?

เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะเพิ่มพลังชีวิตของสเต็มเซลล์ เพื่อคงความอ่อนเยาว์ของผิวให้ยาวนานขึ้น? การวัดค่าพลังชีวิตของสเต็มเซลล์นั้นทำได้ค่อนข้างยากเนื่องจาก epidermal stem cells มีลักษณะไม่แตกต่างจากเซลล์อื่นในผิวชั้น basal layer มีเพียงวิธีการทดสอบใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเท่านั้นที่จะวัดค่าพลังชีวิตของสเต็มเซลล์ได้ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “Progenitor cell targeting” โดยสามารถแยกสเต็มเซลล์ออกมาจากชั้นผิว Epidermis เพื่อทำการทดสอบ แล้วนำ epidermal stem cells ไปเพาะเลี้ยงในจานทดลองด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ชนิดพิเศษเพื่อทำการทดสอบคุณสมบัติเฉพาะตัวของสเต็มเซลล์ คือการสร้างโคโลนี หรือ Colony-forming efficiency (CFE) ซึ่งทำการทดสอบได้ในห้องทดลอง โดยมีรายละเอียด คือ ขั้นแรกทำการเจือจางสารแขวนลอยของ epidermal stem cells ลงในจากเพาะเลี้ยง โดยหากเป็นสเต็มเซลล์ที่มีสุขภาพดี(healthy) และมีพลังชีวิต (vital) จะมีการสร้างโคโลนีของสเต็มเซลล์ซึ่งสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าและนับจำนวนได้ สำหรับสเต็มเซลล์ที่มีอายุมากและไม่แข็งแรงนั้นจะไม่สามารถสร้างโคโลนีลักษณะที่ดีได้ นักวิจัยจึงได้นำ plant stem cells หรือ PhytoCellTec™ มาใช้ในการทดลองและได้พิสูจน์แล้วว่าในทุกผลิตภัณฑ์ของ PhytoCellTec™ สามารถช่วยยืดอายุยืนยาวของ สเต็มเซลล์ (longevity) และเพิ่มความสามารถในการสร้างโคโลนี (colony-forming efficiency) – ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญต่อ epidermal stem cells